เตรียมความพร้อมด้านดิจิทัลและทักษะภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนทั่วไป ประจำปีการศึกษา 2564 รอบที่ 2


     โครงการเรียนล่วงหน้า หลักสูตรเตรียมความพร้อมด้านดิจิทัลและทักษะภาษาอังกฤษ เหมาะสำหรับ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อเตรียมความพร้อม ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในความสำคัญและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ

     หลักสูตรนี้ ผู้สำเร็จการอบรม สามารถสะสมหน่วยกิตและเกรดในระบบศูนย์การศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสามารถเทียบโอนหน่วยกิตและเกรดได้ ในกรณีได้ผลลำดับขั้นตั้งแต่ B ขึ้นไป เมื่อเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ) วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ช่วงวันรับสมัคร
วันเริ่มรับสมัคร 1 ก.ค. 64 เวลา 08:30 น.
วันสิ้นสุดรับสมัคร 5 ธ.ค. 64 เวลา 16:30 น.
วันสิ้นสุดชำระค่าสมัคร 6 ธ.ค. 64 เวลา 16:30 น.
ช่วงเวลาเรียน
8 พ.ย. 64 เวลา 13:00 น. ถึง 14 ม.ค. 65 เวลา 12:00 น.
Online learning
อบรมผ่านโปรแกรมออนไลน์ (Real time เท่านั้น ไม่สามารถดูย้อนหลังได้ เนื่องจากอาจารย์ผู้สอนจะมีการนับชั่วโมงการเข้เรียน 4 วัน/สัปดาห์ จันทร์-วันศุกร์ (ยกเว้นวันพุธ) 8 พฤศจิกายน 2564 – 14 มกราคม 2565 (จ , พฤ เวลา 13.00-16.00 น. และ อ , ศ เวลา 09.00-12.00 น.)
จำนวนรับสมัคร
50 คน
ประเภทหลักสูตร
กำลังโหลดข้อมูล...
ความรู้พื้นฐาน/คุณสมบัติของผู้สมัคร
-
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
(ราคานี้รวมค่าบำรุงมหาวิทยาลัยแล้ว)
0 บาท
(และค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท (ยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัยสำหรับนักศึกษาปัจจุบัน ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย หรือศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่))
ส่วนลด
-
เงื่อนไขการรับสมัคร

1. เป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรงและไม่เป็นโรค หรือภาวะอันเป็นอุปสรรคในการศึกษา

2. เป็นผู้กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 หรือเทียบเท่า

ในกรณีนักเรียนชาวจีน เป็นผู้สำเร็จการศึกษาหรือกำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า โดยมีผลการเรียนเฉลี่ยรวม ไม่น้อยกว่า 4 ภาคการศึกษา ในแผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (วิทย์-คณิต) หรือศิลปศาสตร์ (ศิลป์) และมีผลการเรียนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 60 จากคะแนนเต็ม 100 หรือไม่ต่ำกว่า 90 จากคะแนนเต็ม 150 ในแต่ละรายวิชา หรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 จากคะแนนเต็มของแต่ละรายวิชา

หลักการและเหตุผล

     การศึกษาถือได้ว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคนและสังคมพร้อมเป็นปัจจัยในการพัฒนาสังคมต่อไป ดังนั้น การศึกษาจึงต้องแสดงบทบาทให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโดยรวม ปัจจุบันสังคมโลกและสังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งนับเป็นยุคที่มีความสลับซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้การศึกษาของไทยถึงเวลาปรับเปลี่ยนเพื่อให้สามารถสร้างผลผลิตได้สอดคล้องกับความต้องการและบริบทของสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ และจากการทบทวนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 นั้น พบว่า ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งได้ตอบสนองต่อการดำรงชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยในปัจจุบันถือได้ว่าเทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วนตั้งแต่การใช้ชีวิตประจำวัน การเงินการธนาคาร การทำธุรกิจ และการศึกษา
     ทั้งนี้การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม จึงเป็นพลังขับเคลื่อนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน โดยส่งเสริมการใช้ความคิดสร้างสรรค์และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคการผลิต ตลอดจนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรมให้ทั่วถึงและเพียงพอทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพในลักษณะของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งแนวทางนี้ได้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้ประกาศใช้นโยบายและแผนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ขึ้น โดยมีตอนหนึ่งกล่าวว่า “ความสามารถทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม มีหน่วยงานรับผิดชอบ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในกลุ่ม ASEAN และกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงในด้านความสามารถและโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอัตราที่ช้ากว่ามาก ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอุปสรรคต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในอนาคต”
     ดังนั้นการเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เพื่อให้ประเทศไทยได้รับการขับเคลื่อนและพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการเข้าถึงทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการสร้างบัณฑิต ตามแนวทาง CMU Smart Students ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่กำหนด
     ในการนี้วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงจัดตั้งโครงการหลักสูตรเตรียมความพร้อมด้านดิจิทัลและทักษะภาษาอังกฤษ (Prep-School in Digital Literacy and English Proficiency Skills) เพื่อเตรียมความพร้อมรวมถึงการพัฒนาทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (Digital literacy) ให้กับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยได้จัดทำการศึกษาสำหรับการเรียนการสอนในกระบวนวิชาศึกษาทั่วไป (General Education: GE Courses) ของวิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

เนื้อหาของหลักสูตร

ประกอบด้วยกระบวนวิชาศึกษาทั่วไป (General Education, GE) จำนวน 1 กระบวนวิชา รวม 3 หน่วยกิต และวิชาเสริมสร้างทักษะด้านดิจิทัลและภาษาอังกฤษ

หมวด ลำดับ รหัส-ชื่อกระบวนวิชา จำนวนหน่วยกิต
กระบวนวิชาศึกษาทั่วไป (General Education, GE) 1 888102 - อภิมหาข้อมูลเพื่อธุรกิจ (Big Data for Business) 3 (3-0-6)
ทักษะดิจิทัล (Digital Skill) 2 ภาษาอาร์ (R language)
ทักษะภาษาอังกฤษ (English Skill) 3 ภาษาอังกฤษ ระดับกลาง (English – Intermediate)

เตรียมความพร้อมด้านดิจิทัลและทักษะภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนทั่วไป ประจำปีการศึกษา 2564 รอบที่ 2

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

...
อ.ดร. พิมพ์พร อนันตวรสกุล
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

วิทยาลัยนานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล
นานาชาตินวัตกรรมดิจิทัล
ช่องทางในการติดต่อสอบถาม
นายณัฐกานต์ ศรีวิชัย, นางสาวอุษนีย์ พงศาวลีศรี
icdi@cmu.ac.th
053-943711-12
...
หลักสูตรสะสมหน่วยกิต
หลักสูตรที่สามารถสะสมหน่วยกิต เพื่อเทียบโอนเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้
...
การเรียนรูปแบบ Online
เป็นหลักสูตรเรียนรู้ผ่าน Online Platform

แนะนำสำหรับคุณ
Card image cap

วันที่รับสมัคร 5 พ.ค. 2568 - 28 พ.ค. 2568
ภาษาไทย
สะสมหน่วยกิต
ราคา 5,100 บาท


เรียนทั้งออนไลน์
และในสถานศึกษา
Card image cap

วันที่รับสมัคร 3 ก.พ. 2568 - 31 ธ.ค. 2568
ภาษาไทย
สะสมหน่วยกิต/รับรองสมรรถนะ
ราคา 3,600 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 3 ก.พ. 2568 - 31 ธ.ค. 2568
ภาษาไทย
รับรองสมรรถนะ
ราคา 1,500 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 24 ก.พ. 2568 - 1 ม.ค. 2570
ภาษาไทย
รับรองสมรรถนะ
ราคา 1,700 บาท


เรียนออนไลน์