ความรู้พื้นฐานด้านอาชีวเวชศาสตร์สำหรับแพทย์ (Fundamental Occupational Medicine for Physicians)


สถานการณ์โรคจากการทำงาน สิ่งคุกคามและการแก้ไขสิ่งคุกคาม กายวิภาคของระบบกล้ามเนื้อ โรคจากการทำงาน การประเมินการยศาสตร์ หลักความปลอดภัยในการทำงานและการสอบสวนอุบัติเหตุ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวอนามัย การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพ การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค การบริการอาชีวอนามัย หลักการสำรวจสถานประกอบการและการประเมินความเสี่ยง แรงงานนอกระบบ การจัดการข้อมูลในสถานประกอบการ แนวทางการวินิจฉัยโรคจากการทำงาน แนวทางการซักประวัติและฐานข้อมูลด้านอาชีวเวชศาสตร์ การใช้เครื่องมือด้านสุขศาสตร์ และการฝึกปฏิบัติอาชีวอนามัยอุตสาหกรรมและอาชีวเวชศาสตร์ และการประเมินการสูญเสียสมรรถภาพทางกายและจิต

หลักสูตรนี้เป็นการอบรมแบบ online ร่วมกับ onsite โดยแบ่งการอบรมออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่

ช่วงที่ 1 : วันที่ 2 ตุลาคม - 31 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00 - 16.30 น.

ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถเรียนกับอาจารย์ผู้สอนแบบ onsite ณ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ/หรือ แบบ online ผ่าน Zoom Meeting

ช่วงที่ 2 : วันที่ 1-30 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 - 16.30 น.

ผู้เข้าร่วมอบรมเรียนกับอาจารย์ด้วยระบบ onsite ณ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

** ผู้สมัครสามารถดาวน์โหลด หนังสือเชิญอบรมเพื่อเป็นเอกสารแนบสำหรับต้นสังกัด ได้ที่ ลิงก์นี้  https://cmu.to/HJTzL

ช่วงวันรับสมัคร
วันเริ่มรับสมัคร 20 มี.ค. 66 เวลา 08:30 น.
วันสิ้นสุดรับสมัคร 20 ก.ย. 66 เวลา 23:59 น.
วันสิ้นสุดชำระค่าสมัคร 20 ก.ย. 66 เวลา 23:59 น.
ช่วงเวลาเรียน
2 ต.ค. 66 เวลา 09:00 น. ถึง 31 ต.ค. 66 เวลา 16:30 น.
Online learning และ On-Site Training
ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การอบรมช่วงที่ 1 : ผู้เข้าร่วมอบรมสามารถเรียนกับอาจารย์ผู้สอนแบบ onsite ณ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ/หรือ แบบ online ผ่าน Zoom Meeting

1 พ.ย. 66 เวลา 09:00 น. ถึง 30 พ.ย. 66 เวลา 16:30 น.
On-Site Training
ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การอบรมช่วงที่ 2 : ผู้อบรมเข้าเรียนรูปแบบ onsite กับอาจารย์ผู้สอน
จำนวนรับสมัคร
40 คน
(เปิดอบรมเมื่อมีจำนวนผู้ลงทะเบียนขั้นต่ำ 15 คน)
ประเภทหลักสูตร
กำลังโหลดข้อมูล...
ความรู้พื้นฐาน/คุณสมบัติของผู้สมัคร
  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต
  2. เป็นแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง
  3. ไม่เคยเข้ารับการอบรมหลักสูตรด้านอาชีวเวชศาสตร์ สำหรับแพทย์ (หลักสูตร 2 เดือน) มาก่อน
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
(ราคานี้รวมค่าบำรุงมหาวิทยาลัยแล้ว)
32,600 บาท
(ยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท สำหรับนักศึกษา ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ยกเว้นค่าธรรมเนียมการอบรมสำหรับบุคลากรคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย
* สำหรับนักศึกษา บุคลากร หรือศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท (ยอดชำระ 32,000 บาท)
ส่วนลด
-
เงื่อนไขการรับสมัคร
  1. เป็นผู้สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตรบัณฑิต
  2. เป็นแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง
  3. ไม่เคยเข้ารับการอบรมหลักสูตรด้านอาชีวเวชศาสตร์ สำหรับแพทย์ (หลักสูตร 2 เดือน) มาก่อน
หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมหลายประการที่ส่งผลต่อระบบสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดประชาคมอาเซียน นอกจากส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น เมื่อมีการเปิดประชาคมอาเซียนในปี 2558 สิ่งที่จะเกิดตามมาคือ ประชาชนในภูมิภาคกว่า 600 ล้านคน มีการเคลื่อนย้ายระหว่างประเทศได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งการไปมาหาสู่นี่เอง จะเพิ่มความเสี่ยงในการเคลื่อนย้ายของโรคระบาด หรืออุบัติโรคใหม่ที่อาจจะตามมาด้วย ในขณะเดียวกันก็พบว่า ประชาชนวัยแรงงาน ทั้งในภาคแรงงานในระบบและแรงงานนอกระบบ มีแนวโน้มของสภาพปัญหาสุขภาพที่เป็นโรคเรื้อรัง รวมทั้งปัญหาด้านจิตใจในประเด็นสิ่งคุกคามสุขภาพอนามัยในงานมากขึ้นตามไปด้วย ประชาชนวัยแรงงานดังกล่าวต้องการบริการด้านสุขภาพที่มีความต่อเนื่อง และการดูแลที่คำนึงถึงสภาพจิตใจและสภาพสังคมมากขึ้น
อาชีวเวชศาสตร์เป็นเวชศาสตร์ป้องกันแขนงที่มุ่งดูแลประชากรวัยทำงานในประเด็นสิ่งคุกคามสุขภาพ ในงานและประชากรทั่วไปในประเด็นของสิ่งแวดล้อม จำเป็นจะต้องใช้แพทย์ที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง เพื่อทำหน้าที่วางแผน ให้บริการและประเมินผล การดูแลรักษาและป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม โดยใช้หลักการของเวชศาสตร์ป้องกัน และหลักการของเวชศาสตร์ชุมชน โดยที่สถานประกอบการเป็นชุมชนประเภทหนึ่งด้วย จึงควรจัดให้มีการฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางแขนงนี้ขึ้นเป็นพิเศษแยกจากแพทย์เฉพาะทางแขนงอื่น ๆ เพื่อนำไปสู่การมีหลักประกันสุขภาพอย่างทั่วถึง และให้คนไทยได้รับบริการสาธารณสุขด้านการป้องกันโรคที่มีคุณภาพ อีกทั้งช่วยลดภาระรายจ่ายด้านสุขภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำระบบปฏิรูประบบสุขภาพไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ

เนื้อหาของหลักสูตร

หลักสูตรอบรมความรู้พื้นฐานด้านอาชีวเวชศาสตร์สำหรับแพทย์ เป็นหลักสูตรเพื่อการรับรองสมรรถนะและการเก็บสะสมหน่วยกิต มีระยะเวลาการเรียนรู้รวมจำนวน 240 ชั่วโมง ซึ่งเป็นการสอนบรรยาย ฝึกปฏิบัติ สนทนากลุ่ม และศึกษาดูงานนอกสถานที่ด้านอาชีวเวชศาสตร์ เพื่อให้มีความสามารถในการตรวจวินิจฉัย รักษาพยาบาลโรคที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ตลอดจนมีความรู้ความชำนาญในการวางแผนดำเนินงาน และประเมินผลการจัดบริการ
อาชีวเวชกรรมแก่ผู้ประกอบอาชีพในสาขาต่าง ๆ และจัดบริการด้านเวชกรรมสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเนื้อหา ดังนี้

หัวข้อที่ หัวข้อการอบรม รูปแบบการอบรม ระยะเวลา (ชั่วโมง)   หัวข้อที่ หัวข้อการอบรม รูปแบบการอบรม ระยะเวลา (ชั่วโมง)
1 บทนำอาชีวเวชศาสตร์ บรรยาย 4   34 มะเร็งจากการทำงาน บรรยาย 3
2 สถานการณ์โรคจากการทำงาน บรรยาย 3   35 เสียงต่อการสูญเสียสมมรถภาพการได้ยิน บรรยาย 3
3 สิ่งคุกคามด้านชีวภาพ บรรยาย 3   36 แรงงานนอกระบบ บรรยาย 3
4 สิ่งคุกคามด้านกายภาพ บรรยาย 7   37 อาชีวอนามัยในโรงพยาบาล บรรยาย 3
5 กายวิภาคของระบบกล้ามเนื้อ กระดูก หลักการสิ่งคุกคามด้าน biomechanical และการแก้ไขสิ่งคุกคาม บรรยาย 3   38 การจัดการข้อมูลในสถานประกอบการ บรรยาย 3
6 สิ่งคุกคามด้านเคมี บรรยาย 3   39 แนวทางการวินิจฉัยโรคจากการทำงาน บรรยาย 3
7 พิษโลหะหนักและสารระเหย บรรยาย 3   40 สำรวจความเสี่ยงในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ฝึกปฏิบัติ 3.5
8 โรคปอดจากการทำงาน บรรยาย 3   41 เตรียมความพร้อมสำรวจสถานประกอบการ บรรยาย 3
9 ฝึกปฏิบัติอาชีวอนามัยในโรงพยาบาล ฝึกปฏิบัติ 3.5   42 แนวทางการซักประวัติและฐานข้อมูลด้านอาชีวเวชศาสตร์ บรรยาย 3
10 การทำงานกับรังสี บรรยาย 3   43 Personnel safety และมาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงพยาบาล บรรยาย 3
11 อนามัยสิ่งแวดล้อม EIA และ EHIA บรรยาย 3.5   44 ศึกษาดูงานคลินิกโรคจากการทำงาน และศูนย์สร้างเสริมสุขภาพ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ ฝึกปฏิบัติ 3.5
12 โรคกระดูกกล้ามเนื้อที่เกิดจากการทำงาน บรรยาย 3   45 อุบัติภัยสารเคมี บรรยาย 3
13 การประเมินการยศาสตร์ – Tools บรรยาย 3   46 สำรวจสถานประกอบการ ฝึกปฏิบัติ 3.5
14 หลักความปลอดภัยในการทำงานและการสอบสวนอุบัติเหตุ บรรยาย 3   47 การใช้เครื่องมือตรวจสุขภาพทางอาชีวเวชศาสตร์ บรรยาย 3
15 โรคผิวหนังจากการทำงาน บรรยาย 3   48 โปรแกรมการป้องกันทางระบบทางเดินหายใจ และอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล บรรยาย 3.5
16 การเฝ้าระวังทางการชีวการแพทย์ บรรยาย 3   49 แอพพลิเคชั่นสำหรับอาชีวเวชศาสตร์ และอาชีวอนามัย บรรยาย 6
17 สิ่งคุกคามทางจิตวิทยา และเครื่องมือการประเมิน บรรยาย 3.5   50 การสร้างภูมิคุ้มกันในที่ทำงาน Immunization in workplace บรรยาย 3.5
18 การเฝ้าระวังสุขภาพ บรรยาย 3   51 ระบบระบายอากาศ  คุณภาพอากาศภายในอาคารและ         ซินโดรม ที่เกี่ยวเนื่องกับที่ทำงาน บรรยาย 3
19 ระบาดวิทยา บรรยาย 3.5   52 การเดินทางและกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548 (2005) บรรยาย 3
20 ตัวชี้วัดการสัมผัสสารเคมี และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี บรรยาย 3   53 แนวโน้มและสถานการณ์อาชีวเวชศาสตร์ บรรยาย 3
21 โรคตาจากการทำงาน บรรยาย 3   54 เวชศาสตร์ใต้น้ำ บรรยาย 3
22 การกลับเข้าทำงาน บรรยาย 3   55 การวิพากษ์การวินิจฉัยโรคจากการทำงาน การสนทนากลุ่ม 3.5
23 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานอาชีวอนามัย บรรยาย 3.5   56 นำเสนอการสำรวจความเสี่ยงในโรงพยาบาล การสนทนากลุ่ม 3.5
24 การสอบสวนโรคจากการประกอบอาชีพ บรรยาย 3   57 การใช้เครื่องมือด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม บรรยาย 3
25 การวิพากษ์การเฝ้าระวังสุขภาพ การสนทนากลุ่ม 3.5   58 การใช้เครื่องมือตรวจสุขภาพทางอาชีวเวชศาสตร์ ฝึกปฏิบัติ 3.5
26 ตรวจประเมินความพร้อมในการทำงาน บรรยาย 3   59 แรงงานชุมชนและแรงงานนอกระบบ ฝึกปฏิบัติ 4
27 การวิพากษ์การกลับเข้าทำงาน การสนทนากลุ่ม 3.5   60 การวิพากษ์การทำงานในพื้นที่อับอากาศ และการทำงานในที่สูง การสนทนากลุ่ม 3.5
28 การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค บรรยาย 3   61 ศึกษาดูงาน ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพคนงาน ภาค 3 ฝึกปฏิบัติ 3.5
29 การทำงานเป็นกะ และการประเมินความสามารถในการทำงาน บรรยาย 3.5   62 นำเสนอผลการสำรวจสถานประกอบการ การสนทนากลุ่ม 3.5
30 การรับสถานการณ์ฉุกเฉิน บรรยาย 3   63 ศึกษาดูงาน ชมรมกู้ภัยทางสูง ฝึกปฏิบัติ 3.5
31 การบริการอาชีวอนามัย บรรยาย 3.5   64 การใช้เครื่องมือด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ฝึกปฏิบัติ 3.5
32 หลักการสำรวจสถานประกอบการและการประเมินความเสี่ยง บรรยาย 3   65 การประเมินการสูญเสียสมรรถภาพทางกายและจิต บรรยาย 26.5
33 การทำงานในพื้นที่อับอากาศ และการทำงานในที่สูง บรรยาย 3.5   66 สรุปประเมินการอบรมตลอดหลักสูตร บรรยาย 3
 

ความรู้พื้นฐานด้านอาชีวเวชศาสตร์สำหรับแพทย์ (Fundamental Occupational Medicine for Physicians)

Responsive image

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

...
รศ.ดร.รัตนา ทรัพย์บำเรอ
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

คณะแพทยศาสตร์
ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน
ช่องทางในการติดต่อสอบถาม
ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์
053-935472 และ 095-916-2340 (วัน-เวลาราชการ)
...
หลักสูตรสะสมหน่วยกิต
หลักสูตรที่สามารถสะสมหน่วยกิต เพื่อเทียบโอนเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้
...
การเรียนรูปแบบ Onsite
เป็นหลักสูตรเรียนรู้ในสถานที่

แนะนำสำหรับคุณ
Card image cap

วันที่รับสมัคร 25 ก.ค. 2567 - 31 ก.ค. 2567
ภาษาไทย
สะสมหน่วยกิต/รับรองสมรรถนะ
ราคา 18,600 บาท


เรียนในสถานศึกษา
Card image cap

วันที่รับสมัคร 25 ก.ค. 2567 - 30 ส.ค. 2567
ภาษาไทย
สะสมหน่วยกิต
ราคา 2,000 บาท


เรียนทั้งออนไลน์
และในสถานศึกษา
Card image cap

วันที่รับสมัคร 8 ก.ค. 2567 - 8 ม.ค. 2568
ภาษาไทย
ไม่มีค่าใช้จ่าย


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 7 พ.ค. 2567 - 26 ส.ค. 2567
ภาษาไทย
ราคา 3,100 บาท


เรียนออนไลน์