เชื่อมต่อความรู้ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำหรับสมัคร CMU IPAS หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (นานาชาติ) คณะสังคมศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์


หลักสูตรเสริมความรู้วิชาการพื้นฐานให้แก่นักเรียนที่ขาดความรู้ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายปีที่ 6 (Matthayom 6 - M.6) สําหรับใช้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีในหลักสูตรนานาชาติของคณะสังคมศาสตร์และคณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบไปด้วย 4 กระบวนวิชา ดังนี้

1. English Skills for Social Sciences and Humanities
เทียบกับกระบวนวิชา 001207 การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ 1 (English for Effective and Creative Communication 1)
2. Academic Learning and Skills in Social Sciences and Humanities Studies 
เทียบกับกระบวนวิชา 049191 ทักษะวิชาการสำหรับการศึกษามนุษยศาสตร์ (Academic Skills for Humanities Studies) 
3. Introduction to Asia: Perspectives in Global Contexts
เทียบกับกระบวนวิชา 050124 เอเชียในความเคลื่อนไหว (Asia in Motion) 
4. Preparation for Basic Knowledge of Social Sciences and Humanities
เทียบกับกระบวนวิชา 152101 โลกของสังคมศาสตร์ (The World of Social Science)

 

ช่วงวันรับสมัคร
วันเริ่มรับสมัคร 1 เม.ย. 67 เวลา 08:30 น.
วันสิ้นสุดรับสมัคร 30 พ.ค. 67 เวลา 16:30 น.
วันสิ้นสุดชำระค่าสมัคร 13 มิ.ย. 67 เวลา 17:00 น.
ช่วงเวลาเรียน
1 ก.ค. 67 เวลา 08:30 น. ถึง 30 พ.ย. 67 เวลา 16:30 น.
Online learning และ On-Site Training
คณะสังคมศาสตร์/คณะมนุษยศาสตร์ (อาคารและเลขห้อง ทางคณะจะแจ้งให้ผู้เรียนทราบภายหลัง)
อบรมรูปแบบ Online ร่วมกับ Onsite / Online ผ่านโปรแกรม Zoom หรือ MS Teams / Onsite ณ คณะสังคมศาสตร์/คณะมนุษยศาสตร์ (อาคารและเลขห้อง ทางคณะจะแจ้งให้ผู้เรียนทราบภายหลัง)
จำนวนรับสมัคร
ไม่จำกัดจำนวนผู้สมัคร
(เปิดอบรมเมื่อมีจำนวนผู้ลงทะเบียนขั้นต่ำ 20 คน)
ประเภทหลักสูตร
กำลังโหลดข้อมูล...
ความรู้พื้นฐาน/คุณสมบัติของผู้สมัคร

1) เป็นผู้ที่จบการศึกษาหรือกำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย K-11 (หรือเทียบเท่า) ในหลักสูตรที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษาของประเทศไทย
2) เกณฑ์ภาษาอังกฤษ
    2.1) มีผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษและคะแนนขั้นต่ำจากการสอบมาตรฐานอันใดอันหนึ่ง
    2.2) หรือ *มีผลสอบภาษาอังกฤษระดับ Level B1 ขึ้นไปจาก The CEFR, Common European Framework of Reference for Languages สามารถสอบได้ที่ https://www.efset.org/ef-set-50/ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา
(ราคานี้รวมค่าบำรุงมหาวิทยาลัยแล้ว)
10,600 บาท
(ยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท สำหรับนักศึกษา ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย
* สำหรับนักศึกษา บุคลากร หรือศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท (ยอดชำระ 10,000 บาท)
ส่วนลด
-
เงื่อนไขการรับสมัคร
  1. เป็นกลุ่มนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 หรือเทียบเท่าเรียนในหลักสูตรที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษาของประเทศไทยและต้องการความรู้เพิ่ม 1 ปี
  2. ประสงค์จะเข้าเรียนในหลักสูตรนานาชาติของคณะสังคมศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  3. มีผลคะแนนสอบภาษาอังกฤษและคะแนนขั้นต่ำจากการสอบมาตรฐานอันใดอันหนึ่ง
หลักการและเหตุผล

เนื่องจากความแตกต่างของระบบการศึกษาในประเทศต่าง ๆ ทำให้นักเรียนส่วนหนึ่งขาดการศึกษา 1 ปี ที่จะถือได้ว่าเทียบเท่ากับระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 (Matthayom 6 - M.6/ K-12) ของระบบการศึกษาแบบไทย/สหรัฐอเมริกา และจากระเบียบของกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การเทียบวุฒิการศึกษาในประเทศและต่างประเทศระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2563 ในข้อ 16 เปิดให้สถาบันอุดมศึกษาแต่ละแห่งสามารถพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ศึกษาต่อได้ตามความเหมาะสม

ในการนี้เพื่อให้กลุ่มนักเรียนที่จบการศึกษาจากระบบการศึกษาอื่น ได้มีความรู้ที่เหมาะสมต่อการเข้าเรียนในหลักสูตรนานาชาติของคณะสังคมศาสตร์ และหลักสูตรนานาชาติของคณะมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทางภาควิชาสังคมศาสตร์กับการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์ และศูนย์บูรณาการมนุษยาภิวัตน์ คณะมนุษยศาสตร์ จึงมีความประสงค์จะเปิดหลักสูตรอบรมระยะสั้น “เชื่อมต่อความรู้ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำหรับสมัคร CMU IPAS หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (นานาชาติ) คณะสังคมศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์ (Matthayom 6 Equivalent Bridging Certificate Program for CMU IPAS Application to International Programs in Social Science and Humanities)” ขึ้น

หลักสูตรนี้ได้รวบรวมเนื้อหาระดับมัธยมศึกษาที่ 6 เชื่อมเข้ากับเนื้อหาวิชาพื้นฐานสำคัญในปีที่ 1 (ภาคการศึกษาที่ 1) ของหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรี คณะสังคมศาสตร์ และหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์ เอาไว้ด้วยกัน เพื่อให้ผู้ที่ผ่านการอบรมและมีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ของหลักสูตรสามารถสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรนานาชาติของทั้ง 2 คณะได้ตามช่องทาง Chiang Mai University International Program Admission System (CMU-IPAS) และก้าวไปสู่ขั้นตอนการสอบข้อเขียน และ/หรือ สัมภาษณ์ได้ตามระบบการรับสมัครของแต่ละหลักสูตรต่อไป นอกจากนี้ หากผู้เรียนในหลักสูตรนี้ได้เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของทั้ง 2 หลักสูตรแล้วก็สามารถนำกระบวนวิชาไปสะสมหน่วยกิตในหลักสูตรนานาชาติที่ตนกำลังศึกษาได้ด้วย

เนื้อหาของหลักสูตร

หลักสูตรอบรมนี้แบ่งเนื้อหาการเรียนรู้ออกเป็น 4 กระบวนวิชา รวมจำนวน 12 หน่วยกิต โดยมีจำนวนชั่วโมงการเรียนรู้รวม 183 ชั่วโมง

  • กระบวนวิชาที่ 1 English Skills for Social Sciences and Humanities (จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ 45 ชั่วโมง)
    ผู้เรียนสามารถเทียบโอนหน่วยกิตกระบวนวิชา 001207 - การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ 1 (English for Effective and Creative Communication 1) จำนวน 3 หน่วยกิตในหลักสูตรนานาชาติของคณะมนุษยศาสตร์
  • กระบวนวิชาที่ 2 Academic Learning and Skills in Social Sciences and Humanities Studies (จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ 45 ชั่วโมง)
    ผู้เรียนสามารถเทียบโอนหน่วยกิตกระบวนวิชา 049191 - ทักษะวิชาการสำหรับการศึกษามนุษยศาสตร์ (Academic Skills for Humanities Studies) จำนวน 3 หน่วยกิต ในหลักสูตรนานาชาติของคณะมนุษยศาสตร์
  • กระบวนวิชาที่ 3 Introduction to Asia: Perspectives in Global Contexts (จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ 48 ชั่วโมง)
    ผู้เรียนสามารถเทียบโอนหน่วยกิตกระบวนวิชา 050124 - เอเชียในความเคลื่อนไหว (Asia in Motion) จำนวน 3 หน่วยกิต ในหลักสูตรนานาชาติของคณะมนุษยศาสตร์
  • กระบวนวิชาที่ 4 Preparation for Basic Knowledge of Social Sciences and Humanities (จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ 45 ชั่วโมง)
    ผู้เรียนสามารถเทียบโอนหน่วยกิตกระบวนวิชา 152101 - โลกของสังคมศาสตร์ (The World of Social Science) จำนวน 3 หน่วยกิต ในหลักสูตรนานาชาติของคณะสังคมศาสตร์

ตารางที่ 1 กระบวนวิชาที่ 1 English Skills for Social Sciences and Humanities (จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ 45 ชั่วโมง)

หัวข้อหลักสูตรอบรม
กระบวนวิชาที่ 1
จำนวนชั่วโมง
บรรยาย
• ความรู้เบื้องต้นการสื่อสารภาษาอังกฤษในบริบทสังคมข้ามวัฒนธรรม (English communication in intercultural society) 6
ทักษะพื้นฐานสำคัญในการสื่อสารภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพ
• การอ่าน การสะท้อนความคิด การอธิบาย (Reading, reflection, and explanation)
6
• การเขียนในสื่อสมัยใหม่ (Writing on the new media platforms) 6
• การฟังจับประเด็น (Focused listening) 6
• การนำเสนอด้วยวาจา (Oral presentation) 6
ทักษะจำเป็นในการสร้างสรรค์เนื้อหา
• การสร้างเนื้อหาที่มีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์ (The production of contents in effective and creative ways)
9
• การสื่อสารอย่างมีจรรยาบรรณและมีความน่าเชื่อถือ (Developing communication skills with integrity and creditability) 6
รวม (ชั่วโมง) 45

ตารางที่ 2 กระบวนวิชาที่ 2 Academic Learning and Skills in Social Sciences and Humanities Studies (จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ 45 ชั่วโมง)

หัวข้อหลักสูตรอบรม
กระบวนวิชาที่ 2
จำนวนชั่วโมง
บรรยาย
• การจัดการเวลาและทักษะการใช้ชีวิตทางสังคม (Time management and skill for social life) 6
• การอ่านงานด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Reading academic works in humanities and social sciences) 3
• การมีส่วนร่วมเชิงวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ (Academic participation) 3
• การเสนอความเห็นเชิงเหตุผลทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
(The logical idea presentation in humanities and social science)
3
• การทำความเข้าใจปัญหาและการเสนอมุมมองของมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
(Understanding and proposing solutions to problems through the perspectives of humanities and social sciences)
3
ทักษะการเขียนงานวิชาการ
• การค้นหาข้อมูลและการใช้เทคโนโลยีช่วยสืบค้น (Information search and the use of technology in searching)
9
• การเขียนเชิงวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ (Various forms of academic writing)
• งานวิชาการและการเคลื่อนไหวทางสังคมสาธารณะ (Academic and public movement)
9
• การให้เครดิตและการอ้างอิง (Giving credits and creating citation) 6
• การโจรกรรมทางวิชาการ (Plagiarism) 3
รวม (ชั่วโมง) 45

ตารางที่ 3 กระบวนวิชาที่ 3 Introduction to Asia: Perspectives in Global Contexts (จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ 48 ชั่วโมง)

หัวข้อหลักสูตรอบรม
กระบวนวิชาที่ 3
จำนวนชั่วโมง
บรรยาย
ความรู้เบื้องต้น
• ภูมิศาสตร์เอเชียและโลก (Asia and world geography)
• เอเชียในบริบทโลก: จากอดีตสู่ปัจจุบัน (Global Asia: past and present)
9
• เอเชียจากมุมมองเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและความเป็นมนุษย์ (Asia from cultural and humanistic perspectives) 9
• เอเชียจากมุมมองทางสังคมและการเมือง (Asia from social and political perspectives) 9
• เอเชียจากมุมมองประวัติศาสตร์ทางเศรษฐกิจ (Asia from economic perspective) 9
• เอเชียจากมุมมองทางสิ่งแวดล้อม (Asia from environmental perspective) 9
• ประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Societies and Cultures in Southeast Asia) 3
รวม (ชั่วโมง) 48

ตารางที่ 4 กระบวนวิชาที่ 4 Preparation for Basic Knowledge of Social Sciences and Humanities (จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้ 45 ชั่วโมง)

หัวข้อหลักสูตรอบรม
กระบวนวิชาที่ 4
จำนวนชั่วโมง
บรรยาย
ความรู้เบื้องต้น
• ความรู้พื้นฐานทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (Introduction to SS and HU)
9
• สาขาวิชาทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (Disciplines in SS and HU) 3
• บูรณาการความรู้สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (Integrative and holistic approaches in SS and HU) 3
• วิธีวิจัยพื้นฐานสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (Introduction to theory, methods in SS and HU research) 6
• บรรณารักษศาสตร์และการใช้เครื่องมือออนไลน์ (Library science and online research) 6
• การวิจัยภาคสนามและจริยธรรม (Field research and ethics) 3
• ประเด็นปัญหาสังคมร่วมสมัยเพื่อวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
(Selected social science research areas and Contemporary issues)
9
• อนาคตการศึกษาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (Future directions in social science studies) 6
รวม (ชั่วโมง) 45

ตารางที่ 5 แสดงการเทียบเคียงกระบวนวิชาเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 กับเนื้อหาที่เพิ่มพูนความรู้ของหลักสูตรอบรมระยะสั้น

กระบวนวิชาเรียน
มัธยมศึกษาปีที่ 6 (สายศิลป์)
เนื้อหาที่เพิ่มพูนความรู้มัธยมศึกษาปีที่ 6
และเตรียมพื้นฐานให้สำหรับศึกษาปีที่ 1 เทอม1 ของหลักสูตรอบรมระยะสั้น
1. ภาษาอังกฤษ กระบวนวิชาที่ 1 English Skills for Social Sciences and Humanities
2. การอ่านเชิงวิเคราะห์ สอดแทรกในกระบวนวิชาที่ 1 (หัวข้อการอ่าน การสะท้อนความคิด การอธิบาย)
และกระบวนวิชาที่ 2 Academic Learning and Skills in Social Sciences
and Humanities Studies (หัวข้อการอ่านงานด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์)
เพิ่มทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์ ทักษะการใช้ชีวิตทางสังคม การเสนอความเห็นเชิงเหตุผล
การทำงานวิชาการเพื่อสาธารณะ ในกระบวนวิชาที่ 2 Academic Learning and Skills
in Social Sciences and Humanities Studies
3. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เนื้อหาหลักในกระบวนวิชาที่ 3 Introduction to Asia:
Perspectives in Global Contexts
4. ประวัติศาสตร์ /โลกศึกษา
5. สังคมศาสตร์ประยุกต์/สังคมศาสตร์วิเคราะห์ เนื้อหาหลักกระบวนวิชาที่ 4 Preparation for Basic Knowledge of
Social Sciences and Humanities

เชื่อมต่อความรู้ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 สำหรับสมัคร CMU IPAS หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (นานาชาติ) คณะสังคมศาสตร์และคณะมนุษยศาสตร์

Responsive image

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

...
รศ.ดร. อรัญญา ศิริผล
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

คณะสังคมศาสตร์
ภาควิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา
ช่องทางในการติดต่อสอบถาม
ภาควิชาสังคมศาสตร์กับการพัฒนา คณะสังคมศาสตร์
Department of Social Sciences and Development, Faculty of Social Sciences
mass.fss@gmail.com
053-943507 ต่อ 101
...
หลักสูตรสะสมหน่วยกิต
หลักสูตรที่สามารถสะสมหน่วยกิต เพื่อเทียบโอนเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้
...
การเรียนรูปแบบ Onsite
เป็นหลักสูตรเรียนรู้ในสถานที่
...
การเรียนรูปแบบ Online
เป็นหลักสูตรเรียนรู้ผ่าน Online Platform

แนะนำสำหรับคุณ
Card image cap

วันที่รับสมัคร 3 ก.พ. 2568 - 31 ธ.ค. 2568
ภาษาไทย
สะสมหน่วยกิต/รับรองสมรรถนะ
ราคา 3,600 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 3 ก.พ. 2568 - 31 ธ.ค. 2568
ภาษาไทย
รับรองสมรรถนะ
ราคา 1,500 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 24 ก.พ. 2568 - 1 ม.ค. 2570
ภาษาไทย
รับรองสมรรถนะ
ราคา 1,700 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 24 ก.พ. 2568 - 1 ม.ค. 2570
ภาษาไทย
สะสมหน่วยกิต
ราคา 3,000 บาท


เรียนออนไลน์