วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาพยาธิวิทยา ปี 2567


เป็นหลักสูตรที่ครอบคลุมเนื้อหาทั้งในด้านทฤษฎีและปฏิบัติ ในการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทางพยาธิวิทยากายวิภาค โดยศึกษารอยโรคจากสิ่งส่งตรวจต่าง ๆ ของผู้ป่วย ได้แก่ เซลล์ที่ได้จากสารคัดหลั่ง การเจาะดูดเซลล์ด้วยเข็มขนาดเล็ก และเนื้อเยื่อจากการผ่าตัด รวมทั้งศพผู้ป่วยที่เสียชีวิตในโรงพยาบาล โดยอาศัยการตรวจด้วยตาเปล่า การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ และการตรวจด้วยเทคนิคพิเศษอื่น ๆ เพื่อให้การวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามมาตรฐานของห้องปฏิบัติการฯ รวมทั้งการมีความรู้ความสามารถในการบริหารห้องปฏิบัติการทางพยาธิวิทยากายวิภาคได้มีคุณภาพตามเกณฑ์หลักสูตรและเกณฑ์การฝึกอบรมฯ สาขาพยาธิวิทยากายวิภาค ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย

ช่วงวันรับสมัคร
วันเริ่มรับสมัคร 10 มิ.ย. 67 เวลา 08:30 น.
วันสิ้นสุดรับสมัคร 31 ส.ค. 67 เวลา 16:30 น.
วันสิ้นสุดชำระค่าสมัคร 31 ส.ค. 67 เวลา 17:00 น.
ช่วงเวลาเรียน
1 ก.ค. 67 เวลา 08:30 น. ถึง 30 มิ.ย. 69 เวลา 16:30 น.
On-Site Training
ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อบรมรูปแบบ Onsite ทั้งการเรียนรู้ภาคบรรยาย และปฏิบัติ
จำนวนรับสมัคร
10 คน
(เปิดอบรมเมื่อมีจำนวนผู้ลงทะเบียนขั้นต่ำ 1 คน)
ประเภทหลักสูตร
กำลังโหลดข้อมูล...
ความรู้พื้นฐาน/คุณสมบัติของผู้สมัคร

สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา
(ราคานี้รวมค่าบำรุงมหาวิทยาลัยแล้ว)
16,800 บาท
(ใบเสร็จรับเงินที่ออกจากระบบจะไม่สามารถแก้ไขวันที่ได้ : วันที่บนใบเสร็จรับเงินจะลงวันที่ผู้สมัครชำระเงินจริงเท่านั้น)
ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย
* สำหรับนักศึกษา บุคลากร หรือศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท (ยอดชำระ 16,200 บาท)
ส่วนลด
-
เงื่อนไขการรับสมัคร

สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)

หลักการและเหตุผล

ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  มีพันธกิจด้านการศึกษาหลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาพยาธิวิทยากายวิภาค คือ “ผลิตพยาธิแพทย์ที่มีคุณภาพ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่องานบริการทางพยาธิวิทยา โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวมและมุ่งเน้นคุณภาพระดับมาตรฐานสากลอย่างยั่งยืน” ซึ่งเป็นการฝึกอบรมด้านการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทางพยาธิวิทยากายวิภาค โดยศึกษารอยโรคจากสิ่งส่งตรวจต่าง ๆ ของผู้ป่วย ได้แก่ เซลล์ที่ได้จากสารคัดหลั่ง การเจาะดูดเซลล์ด้วยเข็มขนาดเล็ก และเนื้อเยื่อจากการผ่าตัด รวมทั้งศพผู้ป่วยที่เสียชีวิตในโรงพยาบาล ด้วยการตรวจด้วยตาเปล่า การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ และการตรวจด้วยเทคนิคพิเศษอื่น ๆ เพื่อให้การวินิจฉัยโรคได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามมาตรฐานของห้องปฏิบัติการฯ รวมทั้งการมีความรู้ความสามารถในการบริหารห้องปฏิบัติการทางพยาธิวิทยากายวิภาคได้มีคุณภาพตามเกณฑ์หลักสูตรและเกณฑ์การฝึกอบรมฯ สาขาพยาธิวิทยากายวิภาค ราชวิทยาลัยพยาธิแพทย์แห่งประเทศไทย โดยเมื่อสำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาพยาธิวิทยากายวิภาค มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในระยะเวลา 3 ปีแล้ว จะมีประสบการณ์ ความรู้ ความชำนาญในด้านพยาธิวิทยากายวิภาคและทักษะวิชาชีพ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานทั้งในระหว่างและเมื่อสำเร็จการฝึกอบรมหลักสูตรเพื่อวุฒิบัตรความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขาพยาธิวิทยากายวิภาคต่อไป

ทั้งนี้ในอดีตผู้ที่จะเรียนหลักสูตรนี้ได้ ต้องเป็นแพทย์ใช้ทุนหรือแพทย์ประจำบ้านที่ต่อเฉพาะทางด้าน       พยาธิวิทยากายวิภาค อย่างไรก็ตามเพื่อเปิดกว้างให้แพทย์ทั่วไปที่สนใจ ได้มีโอกาสได้เรียนรู้ทางด้านทฤษฎีเรื่องความรู้พื้นฐานและขั้นสูงทางด้านพยาธิวิทยากายวิภาค จึงได้นำหลักสูตรดังกล่าวมาบรรจุในวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต นอกจากนี้หลักสูตรดังกล่าว ผู้เรียนสามารถเทียบโอนหน่วยกิตเพื่อศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Medical Science) ได้ในระยะเวลา 5 ปี หลังสำเร็จการฝึกอบรม

เนื้อหาของหลักสูตร

หลักสูตรอบรมนี้แบ่งเนื้อหาการเรียนรู้ออกเป็น 2 ส่วน โดยมีจำนวนหน่วยกิตรวม 26 หน่วยกิต จำนวนชั่วโมงการเรียนรู้รวม 3,644 ชั่วโมง แบ่งเป็นภาคบรรยาย 30 ชั่วโมง และภาคปฏิบัติ 3,614 ชั่วโมง

เนื้อหาส่วนที่ 1   ประกอบด้วย 4 กระบวนวิชา รวม 14 หน่วยกิต

1)      กระบวนวิชา 345701 เพิ่มพูนทักษะวิชาชีพสำหรับแพทย์ประจำบ้าน            (2 หน่วยกิต)

2)      กระบวนวิชา 318811 ศัลยพยาธิวิยาเบื้องต้น                                     (6 หน่วยกิต)

3)      กระบวนวิชา 318812 การตรวจศพเบื้องต้น                                       (4 หน่วยกิต)

4)      กระบวนวิชา 318813 เซลล์วิทยาวินิจฉัยเบื้องต้น                                 (2 หน่วยกิต)

เนื้อหาส่วนที่ 2   ประกอบด้วย 3 กระบวนวิชา รวม 12 หน่วยกิต

5)      กระบวนวิชา 318814 ศัลยพยาธิวิทยาขั้นสูง                                      (6 หน่วยกิต)

6)      กระบวนวิชา 318815 การตรวจศพขั้นสูง                                          (4 หน่วยกิต)

7)      กระบวนวิชา 318816 เซลล์วิทยาวินิจฉัยขั้นสูง                                    (2 หน่วยกิต)

วิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก สาขาวิชาพยาธิวิทยา ปี 2567

Responsive image

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

...
ผศ.พญ. ธีรดา ดรุณธรรม
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

คณะแพทยศาสตร์
ภาควิชาพยาธิวิทยา
ช่องทางในการติดต่อสอบถาม
นางสาวพัชรี ศรีคำยศ
phatchari.s@cmu.ac.th
053-935442
...
หลักสูตรสะสมหน่วยกิต
หลักสูตรที่สามารถสะสมหน่วยกิต เพื่อเทียบโอนเข้ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้
...
การเรียนรูปแบบ Onsite
เป็นหลักสูตรเรียนรู้ในสถานที่

แนะนำสำหรับคุณ
Card image cap

วันที่รับสมัคร 7 ก.ค. 2568 - 23 ก.ค. 2568
ภาษาไทย
สะสมหน่วยกิต
ราคา 7,350 บาท


เรียนทั้งออนไลน์
และในสถานศึกษา
Card image cap

วันที่รับสมัคร 3 ก.พ. 2568 - 31 ธ.ค. 2568
ภาษาไทย
สะสมหน่วยกิต/รับรองสมรรถนะ
ราคา 3,600 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 3 ก.พ. 2568 - 31 ธ.ค. 2568
ภาษาไทย
รับรองสมรรถนะ
ราคา 1,500 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 24 ก.พ. 2568 - 1 ม.ค. 2570
ภาษาไทย
สะสมหน่วยกิต
ราคา 3,000 บาท


เรียนออนไลน์