การดูแลสุขภาพสำหรับสัตว์เลี้ยง (Health Care of Pet Animal) รุ่น 2 ปี 2566


หลักสูตรนี้ประกอบไปด้วย 3 หลักสูตรย่อย  ซึ่งเป็นการให้ความรู้พื้นฐานในการดูแลสุขภาพของสัตว์เลี้ยง การดูแลสุขภาพโดยทั่วไป และการดูแลสุขภาพของสัตว์เลี้ยงเฉพาะด้าน โดยผู้เรียนต้องเริ่มเรียนหลักสูตรพื้นฐานในการดูแลสัตว์ ที่ประกอบด้วยความรู้ด้านสายพันธุ์และพันธุกรรมของสัตว์เลี้ยงสุขภาพทั่วๆไป และการตรวจสุขภาพเบื้องต้น การดูแลและทำความสะอาดสัตว์เลี้ยง โภชนาการอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงและยาสัตว์ทั่วไป และสารเคมีที่เป็นพิษต่อสุนัขและแมว ตามด้วยการดูแลสุขภาพทั่วไป อันได้แก่ การดูแลด้านปาราสิต การใช้ยา การให้อาหารในสัตว์ป่วย และการให้อาหารเสริม ทั้งนี้หลักสูตรสุดท้าย เป็นการดูแลเฉพาะด้านของร่างกายสัตว์ เช่น ผิวหนังและขน ทางเดินหายใจ การขับถ่าย โดยรูปแบบการเรียนรู้เป็นการบรรยายออนไลน์ ซึ่งจะทำให้เกิดการเพิ่มความรู้ที่จะเกิดประโยชน์ต่อการเลี้ยงและการดูแลสัตว์เลี้ยงให้มีสุขภาพดี ปราศจากโรค

หลักสูตรนี้เป็นการอบรมเนื้อหาครบทั้ง 3 หลักสูตรย่อย  ได้แก่

หลักสูตรย่อยที่ 1 พื้นฐานการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยง (Basic Health Care  of Pet Animal)

หลักสูตรย่อยที่ 2 การดูแลสุขภาพทั่วไปในสัตว์เลี้ยง (General Health Care of Pet Animal)

หลักสูตรย่อยที่ 3 การดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงเฉพาะด้าน (Specific Health Care of Pet Animal)

** เมื่อการลงทะเบียนเสร็จสมบูรณ์แล้ว เจ้าหน้าที่ของคณะสัตวแพทยศาสตร์จะทำการติดต่อไปยังผู้เรียนโดยตรง เพื่อชี้แจงเรื่องการเข้าสู่บทเรียนและส่งลิงก์การเข้าอบรมผ่านทางอีเมลที่ผู้เรียนได้ลงทะเบียนไว้ **

 

ช่วงวันรับสมัคร
วันเริ่มรับสมัคร 15 ก.พ. 66 เวลา 08:30 น.
วันสิ้นสุดรับสมัคร 21 ก.พ. 67 เวลา 12:00 น.
วันสิ้นสุดชำระค่าสมัคร 22 ก.พ. 67 เวลา 23:59 น.
ช่วงเวลาเรียน
23 ก.พ. 66 เวลา 08:30 น. ถึง 30 เม.ย. 67 เวลา 16:30 น.
Online learning
สามารถเริ่มอบรมได้หลังจากที่มีการชำระเงินแล้ว 7 วัน โดยมีกำหนดระยะเวลาการอบรม 2 เดือนนับจากวันที่เริ่มอบรม/อบรมรูปแบบ Online ผ่าน CMU MANGO Canvas ผู้เรียนสามารถดูบทเรียนย้อนหลังได้ และสามารถจัดสรรเวลาเรียนและเวลาสอบได้เอง ในช่วงระยะเวลาที่กำหนด
จำนวนรับสมัคร
50 คน
(เปิดอบรมเมื่อมีจำนวนผู้ลงทะเบียนขั้นต่ำ 10 คน)
ประเภทหลักสูตร
กำลังโหลดข้อมูล...
ความรู้พื้นฐาน/คุณสมบัติของผู้สมัคร

-

ค่าธรรมเนียมการศึกษา
(ราคานี้รวมค่าบำรุงมหาวิทยาลัยแล้ว)
1,800 บาท
(ผู้สมัครควรชำระค่าธรรมเนียมภายในวันที่สมัคร เพื่อให้ผู้ประสานงานหลักสูตรแจ้งรายละเอียดการอบรมได้ทันที)
ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย
* สำหรับนักศึกษา บุคลากร หรือศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท (ยอดชำระ 1,200 บาท)
ส่วนลด
-
หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการเลี้ยงสัตว์ในกลุ่มสัตว์เลี้ยงเป็นเพื่อน (companion animals) มีการขยายตัวอย่างมากในประเทศไทย โดยข้อมูลการสำรวจประชากรสุนัขและแมวของสำนักงานปศุสัตว์ ปี 2559 พบว่าประเทศไทย มีประชากรสุนัข จำนวน 7,380,810 ตัว และแมว จำนวน 3,035,645 ตัว นอกจากนี้ จำนวนสัตว์เลี้ยงที่เพิ่มขึ้น อาจใช้เป็นตัวบ่งชี้ถึงสถานะทางเศรษฐกิจของผู้เลี้ยงสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะเห็นได้จากมูลค่าของธุรกิจสัตว์เลี้ยงในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2565 ที่มีมูลค่าถึง 4.18 หมื่นล้าน เติบโตเพิ่มขึ้น 10% จากปีที่ผ่านมา (ประชาชาติ, 2565) ทำให้การดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงมีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้รูปแบบการเลี้ยงและดูแลสัตว์เลี้ยงในปัจจุบัน สัตว์เลี้ยงเปรียบเสมือนสมาชิกในครอบครัว (pet humanization) หากผู้เลี้ยงสามารถดูแลและส่งเสริมสุขภาพทำให้สัตว์ป่วยลดลง ส่งผลให้เจ้าของสัตว์เลี้ยงสามารถลดค่าใช้จ่ายจากการแก้ไขปัญหาสุขภาพสัตว์และลดระยะเวลาที่ต้องดูแลสัตว์เลี้ยงขณะเจ็บป่วย ทำให้เจ้าของสัตว์สามารถดำเนินกิจการและสร้างความสามารถในการแข่งขันได้ตามปกติ จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดคุณภาพชีวิตของมนุษย์ที่ดีขึ้น (Well human being support) ยิ่งไปกว่านั้นหลักสูตรการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่มีสัตว์เลี้ยง ผู้ที่สนใจทั่วไป ได้เรียนรู้พื้นฐานของการเลี้ยงสัตว์ เช่น ความรู้ทั่วไปในด้านสายพันธุ์ของสุนัขและแมว การดูแลสุขภาพโดยทั่วไป การตรวจสุขภาพเบื้องต้น การดูแลสุขอนามัยของสัตว์เลี้ยง การดูแลความสะอาดร่างกายของสัตว์เลี้ยงโดยการอาบน้ำ ทำความสะอาดช่องปาก การทำวัคซีน การถ่ายพยาธิ นอกจากนี้ผู้เข้าเรียนในหลักสูตรนี้ยังจะได้เรียนรู้โภชนาการอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง รวมถึงยาและสารเคมีที่เป็นพิษต่อสุนัขและแมว นอกจากนี้แล้วการเปิดหลักสูตรการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงเบื้องต้น รวมทั้งยังเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนในระดับมัธยมที่สนใจเข้าศึกษาในคณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้มีประสบการณ์ในการเรียนในคณะสัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้ทราบถึงข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการเลือกตัดสินใจว่าคณะสัตวแพทยศาสตร์จะเป็นคณะที่ตนเองมีความประสงค์ที่จะเข้าเรียนต่อไปในอนาคต

เนื้อหาของหลักสูตร

หลักสูตรนี้มีจำนวนชั่วโมงการอบรมรวมทั้งสิ้น 15 ชั่วโมง ประกอบด้วย 3 หลักสูตรย่อย ได้แก่
หลักสูตรย่อยที่ 1 พื้นฐานการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยง (Basic Health Care  of Pet Animal)  
หลักสูตรย่อยที่ 2 การดูแลสุขภาพทั่วไปในสัตว์เลี้ยง (General Health Care of Pet Animal)
หลักสูตรย่อยที่ 3 การดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงเฉพาะด้าน (Specific Health Care of Pet Animal)
 
ในแต่ละหลักสูตรจะมีการอบรมรูปแบบออนไลน์จำนวนหลักสูตรละ 5 ชั่วโมง โดยเนื้อหาการอบรมในแต่ละหลักสูตรจะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 5 หัวข้อ ดังนี้

หลักสูตรย่อยที่ 1 พื้นฐานการดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยง (Basic Health Care  of Pet Animal)

หัวข้อที่ เนื้อหา ระยะเวลา ผู้สอน
1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสุนัขและแมว 1 ชั่วโมง ผศ.น.สพ.ดร.อนุชา  สธนวงศ์
2 การตรวจสุขภาพเบื้องต้น 1 ชั่วโมง ผศ.สพ.ญ.ดร.ประภาวดี  ไพรินทร์
3 การดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงเบื้องต้น 1 ชั่วโมง ผศ.สพ.ญ.ดร.ประภาวดี  ไพรินทร์
4 โภชนาการเบื้องต้นและวิธีการใช้อาหารสำหรับสัตว์เลี้ยง 1 ชั่วโมง ผศ.สพ.ญ.ดร.พิชญา  มัชฌิมากุล
5 การใช้ยาและข้อควรระวังสำหรับสัตว์เลี้ยง 1 ชั่วโมง อ.น.สพ.ดร.สนธยา  อ่ำสำอางค์
 
หลักสูตรย่อยที่ 2 การดูแลสุขภาพทั่วไปในสัตว์เลี้ยง (General Health Care of Pet Animal)
หัวข้อที่ เนื้อหา ระยะเวลา ผู้สอน
1 ปรสิตภายนอกในสุนัขและแมว 1 ชั่วโมง รศ.สพ.ญ.ดร.ศรุดา ติวะนันทกร
2 ปรสิตภายในในสุนัขและแมว 1 ชั่วโมง อ.สพ.ญ.ดร.บุณฑริกา นามบุปผา
3 โภชนาการสำหรับสัตว์ป่วย 1 ชั่วโมง ผศ.สพ.ญ.ดร.พิชญา  มัชฌิมากุล
4 ยาสำหรับการใช้ในชีวิตประจำวัน 1 ชั่วโมง อ.น.สพ.ดร.สนธยา  อ่ำสำอางค์
5 อาหารเสริมในสุนัขและแมว 1 ชั่วโมง ผศ.สพ.ญ.ดร.พิชญา  มัชฌิมากุล
 
หลักสูตรย่อยที่ 3 การดูแลสุขภาพสัตว์เลี้ยงเฉพาะด้าน (Specific Health Care of Pet Animal)
หัวข้อที่ เนื้อหา ระยะเวลา ผู้สอน
1 การดูแลผิวหนังและขนในสุนัขและแมว 1 ชั่วโมง ผศ.สพ.ญ.ดร.ประภาวดี  ไพรินทร์
2 การดูแลหัวใจและทางเดินหายใจ 1 ชั่วโมง ผศ.น.สพ.ดร.วันพิทักษ์  ป้องกัน
3 การดูแลสุขภาพช่องปากและทางเดินอาหาร 1 ชั่วโมง อ.น.สพ.ดร.ทรงพล พุทธศิริ
4 การดูแลทางเดินปัสสาวะและการขับถ่าย 1 ชั่วโมง ผศ.สพ.ญ.ดร.พิชญา  มัชฌิมากุล
5 การดูแลสัตว์เลี้ยงในการสืบพันธุ์ 1 ชั่วโมง ผศ.น.สพ.ดร.อนุชา  สธนวงศ์

การดูแลสุขภาพสำหรับสัตว์เลี้ยง (Health Care of Pet Animal) รุ่น 2 ปี 2566

Responsive image

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

...
ผศ.สพญ.ดร.กรรณิการ์ ณ ลำปาง
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

คณะสัตวแพทยศาสตร์
ภาควิชาชีวศาสตร์ทางสัตวแพทย์และสัตวแพทย์สาธารณสุข
ช่องทางในการติดต่อสอบถาม
คุณนิวัฒน์ ไชยมาลา (ผู้ประสานงานหลักสูตรระดับส่วนงาน)
niwat.c@cmu.ac.th
053-948046
...
การเรียนรูปแบบ Online
เป็นหลักสูตรเรียนรู้ผ่าน Online Platform

แนะนำสำหรับคุณ
Card image cap

วันที่รับสมัคร 3 ก.พ. 2568 - 31 ธ.ค. 2568
ภาษาไทย
สะสมหน่วยกิต/รับรองสมรรถนะ
ราคา 3,600 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 3 ก.พ. 2568 - 31 ธ.ค. 2568
ภาษาไทย
รับรองสมรรถนะ
ราคา 1,500 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 24 ก.พ. 2568 - 1 ม.ค. 2570
ภาษาไทย
รับรองสมรรถนะ
ราคา 1,700 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 24 ก.พ. 2568 - 1 ม.ค. 2570
ภาษาไทย
สะสมหน่วยกิต
ราคา 3,000 บาท


เรียนออนไลน์