การสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเชิงปริมาณขั้นสูง


หลักสูตร “การสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเชิงปริมาณขั้นสูง (Advanced Quantitative Magnetic Resonance Imaging (qMRI))” มุ่งเน้นการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ qMRI และการวิเคราะห์ภาพที่เกี่ยวข้อง ผู้เรียนจะได้เรียนรู้หลักการทำงาน เช่น การวัดค่าพารามิเตอร์ T1, T2, T2*, การวิเคราะห์ Diffusion และ Perfusion รวมถึงการใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น MR Elastography และ MR Spectroscopy หลักสูตรยังครอบคลุมการพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ภาพผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเรียนรู้แนวทางการนำ AI มาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ข้อมูล เหมาะสำหรับแพทย์ นักรังสีเทคนิค และ นักวิจัยที่ต้องการพัฒนาความเชี่ยวชาญในสาขานี้

อบรมทุกวันเสาร์ เวลา 09.00-12.00 น. เป็นการอบรม Real time online ผ่าน ZOOM Meeting และสามารถรับชมย้อนหลังได้ (เอกสารประกอบการเรียนอัปโหลดผ่าน MANGO Canvas) *อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

หมายเหตุ หลังสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิคสามารถรับคะแนนการศึกต่อเนื่องได้ 10 คะแนน ตามประกาศคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพต่อเนื่องของผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิคพ.ศ. 2563

** ใบเสร็จรับเงินออกในรูปแบบ "ใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ (e-receipt)" เท่านั้น โดยวันที่บนใบเสร็จรับเงินนั้น จะระบุเป็นวันที่ที่ได้รับชำระเงินจริง ซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ **

ช่วงวันรับสมัคร
วันเริ่มรับสมัคร 1 ต.ค. 68 เวลา 08:30 น.
วันสิ้นสุดรับสมัคร 31 ต.ค. 68 เวลา 16:30 น.
วันสิ้นสุดชำระค่าสมัคร 7 พ.ย. 68 เวลา 16:30 น.
ช่วงเวลาเรียน
1 พ.ย. 68 เวลา 09:00 น. ถึง 31 ธ.ค. 68 เวลา 12:00 น.
Online learning
อบรมทุกวันเสาร์ เวลา 09.00-12.00 น. เป็นการอบรม Real time online ผ่าน ZOOM Meeting และสามารถรับชมย้อนหลังได้ (เอกสารประกอบการเรียนอัปโหลดผ่าน MANGO Canvas)
จำนวนรับสมัคร
15 คน
(เปิดอบรมเมื่อมีจำนวนผู้ลงทะเบียนขั้นต่ำ 7 คน)
ประเภทหลักสูตร
กำลังโหลดข้อมูล...
ความรู้พื้นฐาน/คุณสมบัติของผู้สมัคร

สำเร็จการศึกษาศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขารังสีเทคนิค หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

ค่าธรรมเนียมการศึกษา
(ราคานี้รวมค่าบำรุงมหาวิทยาลัยแล้ว)
2,600 บาท
(ค่าธรรมเนียมการอบรม 2,000 บาท และค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท)
ค่าบำรุงมหาวิทยาลัย
* สำหรับนักศึกษา บุคลากร หรือศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะยกเว้นค่าบำรุงมหาวิทยาลัย 600 บาท (ยอดชำระ 2,000 บาท)
ส่วนลด
-
เงื่อนไขการรับสมัคร

ผู้สำเร็จการศึกษาศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขารังสีเทคนิค หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง

หลักการและเหตุผล

การสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเชิงปริมาณ หรือ Quantitative MRI (qMRI) เป็นเทคนิคในงาน MRI ที่มีเป้าหมายเพื่อวัดค่าทางกายภาพหรือชีวฟิสิกส์ในเนื้อเยื่อของร่างกายโดยเฉพาะ ค่าที่วัดได้เหล่านี้สามารถแสดงออกในรูปแบบเชิงตัวเลขเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการถ่ายภาพทางการแพทย์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในด้านการวินิจฉัยและการวิจัย เช่น T1, T2, T2*, การแพร่กระจาย (Diffusion), และการไหลเวียนของเลือด (Perfusion) เพื่อให้ข้อมูลที่มีความละเอียดและแม่นยำเกี่ยวกับโครงสร้างและการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย ปัจจุบัน การใช้งาน qMRI ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากศักยภาพในการตรวจจับโรคตั้งแต่ระยะเริ่มต้น การติดตามผลการรักษา และการประเมินการตอบสนองของผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การทำความเข้าใจเทคนิคพื้นฐาน การวิเคราะห์ภาพ และการประยุกต์ใช้งานยังคงเป็นความท้าทายสำหรับรังสีแพทย์และนักรังสีเทคนิค

ดังนั้น หลักสูตรนี้จึงถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าว โดยมุ่งเน้นการให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ qMRI พร้อมทั้งเสริมทักษะการวิเคราะห์ภาพและการประยุกต์ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณในงานวิจัยและคลินิก ผู้เรียนจะได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นเพื่อพัฒนาศักยภาพในการใช้งาน qMRI อย่างมีประสิทธิภาพ

เนื้อหาของหลักสูตร

หลักสูตรนี้มีจำนวนชั่วโมงการอบรม 18 ชั่วโมง โดยแบ่งเป็นภาคบรรยาย 15 ชั่วโมง และ ภาคปฏิบัติ 3 ชั่วโมง) จำนวน 3 โมดูล รายละเอียดดังนี้  

หัวข้อ

เนื้อหา/กระบวนการ

รูปแบบ
การอบรม

ระยะเวลา
(ชั่วโมง)

โมดูล I:

ความรู้พื้นฐาน และ หลักการของ
การสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็ก
ไฟฟ้าเชิงปริมาณ (qMRI)

บรรยาย 1:  หลักการฟิสิกส์พื้นฐานทางด้าน
การสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
- หลักการทางแมกเนติกเรโซแนนซ์ สปิน การหมุนควง
และ การกลับเข้าสู่สภาวะสมดุลของนิวเคลียส

บรรยาย 2:  พารามิเตอร์ การสร้างภาพด้วยคลื่น
แม่เหล็กไฟฟ้าเชิงปริมาณ (qMRI) ที่ควรรู้
- ค่าคงที่ T1, T2, T2* หลักการ diffusion perfusion
และ ความหนาแน่นของโปรตอน

บรรยาย 3:  การตรวจสอบคุณภาพ และ สัญญาณ
แปลกปลอมบนการสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็ก
ไฟฟ้าเชิงปริมาณ (qMRI)
- ปัจจัยที่มีผลต่อค่าอัตราส่วนระหว่างสัญญาณภาพกับ
สัญญาณรบกวน ความละเอียดภาพ และ การลดสัญญาณ
แปลกปลอมบนภาพ qMRI

บรรยาย 4: ลำดับพัลส์สำหรับการสร้างภาพด้วยคลื่น
แม่เหล็กไฟฟ้าเชิงปริมาณ (qMRI)
- ลำดับพัลส์ที่นิยมใช้ใน qMRI เช่น spin echo, gradient echo
และ echo planar imaging
- การใช้ลำดับพัลส์ และ พารามิเตอร์ที่เหมาะสม สำหรับ qMRI

บรรยาย 5: การสอบเทียบมาตรฐาน สำหรับ qMRI
- เทคนิคการสอบเทียบมาตรฐาน เพื่อให้การใช้งาน qMRI
น่าเชื่อถือ และ มีความสามารถในการทำซ้ำ

บรรยาย 5

โมดูล II:

เทคนิคการสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็ก
ไฟฟ้าเชิงปริมาณ (qMRI) ขั้นสูง

บรรยาย 6: การแพร่ของโมเลกุลน้ำภายใต้เครื่องเอ็มอาร์ไอ I
(Diffusion MRI I)
- หลักการ และ เทคนิคการสร้างภาพ การแพร่ของโมเลกุลน้ำภายใต้
เครื่องเอ็มอาร์ไอ รูปแบบ isotropic และ an-isotropic

บรรยาย 7: การแพร่ของโมเลกุลน้ำภายใต้เครื่องเอ็มอาร์ไอ II
(Diffusion MRI II)
- หลักการ และ เทคนิคการสร้างภาพ การแพร่ของโมเลกุลน้ำภายใต้
เครื่องเอ็มอาร์ไอ รูปแบบ intravoxel incoherent motion (IVIM) และ
kurtosis

บรรยาย 8: เทคนิคเพอฟิวชั่นสมอง (brain perfusion)
- เทคนิคการใช้สารสร้างความเปรียบต่างแบบไดนามิก (Dynamic
contrast-enhancement)
- เทคนิคการติดฉลากสปินของหลอดเลือดแดง (arterial
spin labeling)

บรรยาย 9: แผนที่ความไวต่อสนามแม่เหล็กเชิงปริมาณ
(Quantitative susceptibility mapping, QSM)
- หลักการพื้นฐานของ QSM และความสามารถในการวัดความไว
ต่อสนามแม่เหล็กของเนื้อเยื่อ
- เทคนิคการสร้างภาพ QSM
- การคำนวนค่า QSM จากข้อมูลภาพ MRI

บรรยาย 10: เมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโตรสโคปี
(MR Spectroscopy)
- หลักการพื้นฐานของ MR Spectroscopy
- เทคนิคและพารามิเตอร์สำหรับการวัดค่า MR Spectroscopy

บรรยาย 11: การสร้างภาพโดยอาศัยคุณสมบัติ
การถ่ายโอนอำนาจแม่เหล็กภายใต้เครื่องเอ็มอาร์ไอ
(Magnetization Transfer, MT)
- คุณสมบัติการถ่ายโอนอำนาจแม่เหล็กของสารชีวโมเลกุล และ
การวัดค่าการถ่ายโอนอำนาจแม่เหล็กภายใต้เครื่องเอ็มอาร์ไอ

บรรยาย 12: เอ็มอาร์อีลาสโตกราฟี (MR Elastography, MRE)
- หลักการพื้นฐาน MRE
- เทคนิคการสร้างภาพ MRE

บรรยาย 7

โมดูล III:

การประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล
การสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
เชิงปริมาณ (qMRI) ขั้นสูง

บรรยาย 13: การประมวลผลการสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็ก
ไฟฟ้าเชิงปริมาณ (qMRI)
- ลำดับขั้นตอนการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล qMRI

บรรยาย 14: โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับประมวลผล
และวิเคราะห์ข้อมูล qMRI
- แนะนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ฟรี เช่น FSL, SPM, ANTs,
และ Freesurfer
- แนะนำการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงาน qMRI

บรรยาย 15: ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence, AI)
ในงาน การสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเชิงปริมาณ (qMRI)
- บทบาทของ AI ในการปรับปรุงคุณภาพ qMRI
- ความท้าทายในการใช้ AI สำหรับ MRI และ qMRI: การรับรอง
สภาพความใช้ได้ ความสามารถในการแปรผลสู่ประชากรเป้าหมาย,
และความสามารถในการอธิบายได้

บรรยาย 3
 

การประยุกต์ใช้ความรู้ในกรณีศึกษาจากการปฏิบัติการ
จริงด้วยตนเอง ตามโมดูล
- โมดูล I
- โมดูล I
- โมดูล III

- ปฏิบัติการ
- การอภิปรายกลุ่ม
3
  รวม   18

การสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเชิงปริมาณขั้นสูง

Responsive image

ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

...
ผศ.ดร. อุเทน ยะราช
ผู้รับผิดชอบหลักสูตร

คณะเทคนิคการแพทย์
ภาควิชารังสีเทคนิค
ช่องทางในการติดต่อสอบถาม
นางสาวรัตติกาล ไคร้โท้ง
rattikarn.k@cmu.ac.th
053-935072
...
ใบรับรองสมรรถนะ
ใบรับรองสมรรถนะ (Competency Certificate) คือใบประกาศนียบัตรการันตีความสามารถและสมรรถนะเฉพาะด้าน ที่ผู้เรียนจะได้รับหลังผ่านการประเมินจากหลักสูตรอบรมระยะสั้น
...
การเรียนรูปแบบ Online
เป็นหลักสูตรเรียนรู้ผ่าน Online Platform

แนะนำสำหรับคุณ
Card image cap

วันที่รับสมัคร 3 ก.พ. 2568 - 31 ธ.ค. 2568
ภาษาไทย
สะสมหน่วยกิต/รับรองสมรรถนะ
ราคา 3,600 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 3 ก.พ. 2568 - 31 ธ.ค. 2568
ภาษาไทย
รับรองสมรรถนะ
ราคา 1,500 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 24 ก.พ. 2568 - 1 ม.ค. 2570
ภาษาไทย
สะสมหน่วยกิต
ราคา 3,000 บาท


เรียนออนไลน์
Card image cap

วันที่รับสมัคร 24 ก.พ. 2568 - 1 ม.ค. 2570
ภาษาไทย
รับรองสมรรถนะ
ราคา 1,700 บาท


เรียนออนไลน์