เตรียมพร้อมสู่การเป็นน้องใหม่ มช. กับโครงการเรียนร่วม มช. Advance@CMU
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือที่คนเรียกติดปากกันว่า มช. ถือเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยของรัฐที่ได้รับความนิยม ติดอันดับหนึ่งในสิบของมหาวิทยาลัยรัฐที่เด็กๆอยากสอบเข้ามาเรียนแทบทุกปี นอกจากจะขึ้นชื่อเรื่องของบรรยากาศที่อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครับ ทั้งสถานที่กิน เที่ยว ทางด้านวิชาการ มช.ก็ถือว่าโดดเด่นไม่แพ้ใครเช่นกัน โดยในปี 2024 นี้ มช.ได้รับการจัดอันดับจาก Times Higher Education (THE) ให้อยู่อันดับ 3 ของประเทศ ในกลุ่มมหาวิทยาลัยที่โดดเด่นด้านวิชาการ จึงไม่แปลกใจเลยที่ มช.เป็นมหาวิทยาลัยในฝันของเด็ก ม.ปลายหลายคน
เส้นทางสู่รั้ว มช.ที่ต้องแข่งขันกันหลายเวที
ปัจจุบันการรับนักศึกษาของ มช.จะมีอยู่ด้วยกันหลักๆ 4 รอบ คือ TCAS รอบที่ 1-4 ซึ่งเป็นระบบที่ถูกออกแบบมาเพื่อกระจายโอกาสนักเรียนในการเลือกสมัครเข้ารอบที่ตรงกับความสามารถของตนเอง เช่น TCAS รอบ 1 สำหรับเด็กที่มีผลการเรียนดี โดดเด่นด้านกิจกรรมและมีความสามารถพิเศษ TCAS 2 สำหรับเด็กที่อยู่ในพื้นที่ภาคเหนือ TCAS 3 สำหรับเด็กจากทั่วประเทศ และ TCAS 4 รอบรับตรง สำหรับบางคณะที่ยังมีที่นั่งเหลือ ซึ่ง TCAS รอบ 2-4 นั้นล้วนแต่ต้องใช้คะแนนสอบ A-Level ในการพิจารณาทั้งสิ้น เด็กบางคนจึงเลือกสมัคร TCAS รอบ 1 ซึ่งเป็นรอบที่ไม่มีการสอบ เพราะคิดว่าสามารถเข้าได้ง่ายแค่ทำ Portfolio สวยๆส่งไปก็น่าจะติดแล้ว แต่หลายคนก็ต้องพบกับความผิดหวังกลับไป ไม่ว่าจะด้วยผลงานกิจกรรมไม่โดดเด่นพอจะเข้าตากรรมการหรือคุณสมบัติไม่ตรงกับคณะต้องการ ทำให้ต้องขึ้นเวทีไปสอบแข่งขันในรอบที่ 2 และ 3 หรือบางคนถึงกับต้องรอไปลุ้นถึงรอบ TCAS 4 ซึ่งเป็นรอบสุดท้าย ถ้าพลาดอีกก็หมายถึงโอกาสเข้าสู่รั้ว มช.ในปีนั้นถูกปิดไปแล้วอย่างน่าเสียดาย
TCAS 1 รอบพอร์ตฯ ที่ไม่ใช่แค่ยื่นพอร์ตฯก็ได้เข้าง่ายๆ
แม้การสมัครเข้า TCAS รอบที่ 1 จะไม่ได้ใช้คะแนนสอบในการพิจารณา แต่จะใช้การพิจารณาคุณสมบัติผู้สมัครส่วนอื่นๆแทน เช่น ความโดดเด่นด้านกิจกรรม ความสามารถพิเศษที่ตรงกับคณะที่จะสมัคร Portfolio หรือแฟ้มสะสมผลงานที่แสดงถึงการเข้าร่วมกิจกรรมมาตลอดชั้น ม.ปลาย รวมถึงเกรดเฉลี่ยรวม 5 เทอมหรือ GPAX ซึ่งของ มช.ส่วนใหญ่จะกำหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 3.50 ขึ้นไป จะเห็นได้ชัดเลยว่า เด็กๆที่ต้องการสมัครเข้ารอบ TCAS 1 จะต้องมีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่ชั้น ม.4 โดยเริ่มเก็บสะสมผลงานการเข้าร่วมกิจกรรม โครงงาน การประกวด เกียรติบัตรและรางวัลต่างๆเอาไว้ปั้น Portfolio ให้โดดเด่นกว่าคู่แข่ง
เรียนร่วม มช. โครงการที่เสริมความแข็งแกร่งให้กับ Portfolio
หนึ่งในโครงการที่น้องๆชั้น ม.ปลาย ไม่ควรพลาดก็คือ "เรียนร่วม มช." ซึ่งเป็นโครงการของวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เปิดให้น้องๆชั้น ม.ปลายเข้ามาสมัครเรียนวิชาในระดับปริญญาตรีของ มช.ล่วงหน้า โดยเรียนและสอบภายใต้มาตรฐานเดียวกับนักศึกษา มช. เมื่อเรียนจบแล้ว ก็จะได้รับเกรดและหน่วยกิต พร้อมใบ Transcript เป็นหลักฐานยืนยันการจบหลักสูตร ซึ่งใบ Transcript นี้เองที่น้องๆสามารถนำไปประกอบ Portfolio เพื่อสร้างความได้เปรียบในการยื่นสมัคร TCAS 1 ได้
ข้อดีของ “เรียนร่วม มช.” ทำไมเด็ก ม.ปลายต้องสมัคร
นักเรียนที่ผ่านการเรียนเรียนร่วม นอกจากจะได้ใบ Transcript ไปไว้เพื่อแนบ Portfolio แล้วยังมีความได้เปรียบกว่าคนอื่นอีก คือ
วิชาเรียนร่วม มช.ที่ไม่ต้องเข้ามาเรียนถึงใน มช.
เรียนร่วม มช.มีวิชาจากหลากหลายคณะให้เลือกเรียน ทั้งในห้องเรียนและออนไลน์ น้องๆ ม.ปลาย สามารถเลือกเรียนเฉพาะวิชาที่เป็นออนไลน์แบบดูย้อนหลัง เพื่อเรียนในตอนที่มีเวลาว่าง เช่น เรียนตอนเย็นหรือในวันหยุดก็ไม่มีปัญหา และหากมีปัญหาระหว่างเรียนต้องการปรึกษาอาจารย์ก็สามารถสอบถามผ่านช่องทางออนไลน์ได้เลย ไม่ต้องเดินทางมาถึงมหาวิทยาลัย เพราะระบบการเรียนและการสอบของวิชาเรียนร่วมในวิชาที่เป็นออนไลน์จะทำบนแพลตฟอร์มออนไลน์ทั้งหมด ตัวอย่างวิชาเรียนร่วมที่สามารถเรียนออนไลน์ได้และมีเนื้อหาที่ไม่ยากเกินไป น้องๆ ม.ปลายถ้าตั้งใจเรียนก็สามารถเก็บเกรดดีๆ ได้จากวิชาเหล่านี้ เช่น
**บางวิชาอาจไม่มีเปิดสอนในเทอม 2 และซัมเมอร์
เรียนร่วมถึงเรียนแล้วเกรดไม่ดี ไม่มีสูญเปล่า
ผู้ปกครองหรือน้องๆบางคนอาจมีความสงสัยว่า ถ้าสมัครเรียนร่วมไปแล้ว ระหว่างเรียนพบว่าวิชาที่เลือกนั้นยากไปทำคะแนนสอบไม่ดี เกรดออกมาแย่ หรือสมัครไป ตอนเรียนจริงมีเวลาว่างไม่พอ ไม่สามารถเรียนจนจบหลักสูตรได้ที่สมัคร ก็คือสูญเปล่าเลยใช่หรือไม่ อยากจะให้มองอีกมุมหนึ่งว่า อย่างน้อยการที่ไม่ประสบความสำเร็จกับวิชาเรียนร่วม ก็ทำให้น้องๆได้รู้ตัวก่อนว่า ตัวเองอาจจะไม่เหมาะกับสาขาวิชานั้นๆ เช่น ลูกคิดว่าอยากเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ เลยลงเรียนร่วม วิชาแคลคูลัสสำหรับวิศวกรรมศาสตร์ 1 แต่ปรากฏว่าทำเกรดได้ไม่ดี อาจจะเพราะยาก เรียนแล้วไม่เข้าใจ ผู้ปกครองกับลูกก็ต้องกลับมานั่งพูดคุยกันใหม่ว่า จริงๆแล้วลูกของเรามีความถนัดด้านไหนกันแน่ หรือลูกอาจจะชอบศิลปะมากกว่า ก็ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ เรียนร่วม ช่วยให้ค้นพบความชอบหรือความไม่ชอบของลูกตั้งแต่ตอนนี้ ดีกว่าฝืนให้เข้าคณะที่ “คิดว่าใช่” แต่พอเรียนไป ลูกไม่ได้ชอบจริง เรียนไม่ไหว สุดท้ายก็ต้องรีไทร์ไปสอบใหม่ ทำให้เสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายอีก ส่วนใครที่เรียนร่วมไปแล้ว รู้สึกว่าโอเค พอเรียนได้ แต่ได้เกรดไม่ดี ไม่อยากโอนไปใข้ได้หรือไม่ ตอบเลยว่าได้ เพราะผลการเรียนร่วมนั้นไม่ได้ผูกพันกับการเรียนจริงในระดับ ปริญญาตรี ถ้าตอนนี้เราไม่พอใจเกรดที่ได้จากการเรียนร่วม ก็สามารถไปตั้งใจเรียนใหม่อีกรอบ ในปีหน้า หรือจะรอเรียนจริงตอนเข้า มช.เลยก็ได้เช่นกัน
สนใจสมัครเรียนร่วม ปรึกษาเจ้าหน้าที่ได้เลย ยังมีเวลาจนถึงวันที่ 5 มิถุนายนนี้
เรียนร่วมเทอม 1/2567 เปิดให้ลงทะเบียนจนถึงวันที่ 5 มิถุนายน เวลา 16.30น. หากผู้ปกครองท่านใดสนใจ โครงการเรียนร่วม มช. สามารถติดต่อกับเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลหลักสูตร “เรียนร่วม มช.” ของวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต ได้ที่ Line OA : @CMULifelong เพื่อขอคำแนะนำในการเลือกรายวิชาที่เหมาะสมให้กับบุตรหลานของท่านพร้อมทั้งการเตรียมตัวในด้านอื่นๆ